อัพเดท 17 กันยายน 2558
ถามตอบ: คดีอาญาและคดีแพ่ง – บ. เนเชอรัล ฟรุต โจทก์ ฟ้อง อานดี้ ฮออล์ จำเลย
1. การฟ้องคดีมีรายละเอียดอย่างไร?
อานดี้ ฮอลล์ เป็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้านการย้ายถิ่น ฮอลล์เคยทำงานเป็นผู้ประสานงานการวิจัยให้องค์กรพัฒนาเอกชนที่ชื่อ ฟินน์วอชช์ (Finnwatch) จากประเทศ ฟินแลนด์เมื่อ พ.ศ. 2555 ด้วยความช่วยเหลือจากทีมงานนักแปลและผู้ประสานงานท้องถิ่นเขาดำเนินการสัมภาษณ์แรงงานในประเทศไทย องค์กรฟินน์วอช ตีพิมพ์ผลการวิจัยการให้สัมภาษณ์ในรายงานชื่อ “สินค้าราคาถูกมีราคาสูง”[1] เมือเดือนมกราคม 2556
จากข้อมูลที่แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าเเจ้ง แรงงานข้ามชาติกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโรงงานบริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย บ. เนเชอรัล ฟรุต ตอบโต้การวิจารณ์โดยฟ้องคดีทางอาญาและทางแพ่งกับอานดี้ ฮอลล์ ในฐานะบุคคลธรรมดาเเละเป็นการส่วนตัว โดยไม่ได้ฟ้องร้ององค์กรฟินน์วอช ในฐานะองค์กรที่เขียนรายงาน
ในเอกสารการฟ้องร้องของบริษัท เนเชอรัล ฟรุต ได้อ้างอิงชื่อ อานดี้ ฮอลล์ ซึ่งปรากฏในหน้าแรกของบทสรุปผู้บริหารภาษาอังกฤษในรายงาน ว่าเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่าเขาเป็นผู้เขียนและมีความรับผิดชอบในการจัดทำรายงาน ทั้งยังอ้างว่าฮอลล์มีส่วนร่วมในการอัพโหลดและเผยแพร่รายงานไปยังเว็บไซต์ขององค์กร ฟินน์วอช แม้องค์กรฟินน์วอชเป็นผู้เขียนรายงานทั้งหมด และฮอลล์ไม่เคยมีสิทธิในการเข้าถึงเพื่อจัดการเว็บไซต์ขององค์กรฟินน์วอช
บ. เนเชอรัล ฟรุต ได้ยื่นฟ้องคดีสองคดีต่อฮอลล์ ด้วยข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา คดีหมิ่นประมาททางเเพ่งสองคดี คดีหมิ่นประมาททางอาญาหนึ่งคดีมีการกล่าวหาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ร่วมด้วย การคุกคามผ่านการฟ้องคดีเปิดโอกาสให้ บริษัทและรัฐบาลมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ปิดปากผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน
2. บริษัทเนเชอรัล ฟรุต คืออะไร? มีใครเป็นเจ้าของ?
บริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด เป็น บริษัทผลิตผลิตภัณฑ์สับปะรดและเป็นส่วนหนึ่งของ แนท กรุ๊ป ซึ่งมีบริษัท อื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่ม ได้ แก่ ปราฟิค และ ปราฟิค 2005 ซึ่งผลิตผลไม้แห้งและผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ เมื่อ พ.ศ. 2555 บ. เนเชอรัลฟรุต ผลิตน้ำผลไม้เข้มข้นสำหรับร้านค้าปลีกฟินแลนด์ คือ เอสโอเค เคสโก และโลจิสติก ทูโก น้ำผลไม้ติดฉลากห้างค้าปลีก (ผลิตโดยฟินแลนด์วีไอพี – จูซเมคเกอร์ โอวาย)
เจ้าของบ. เนเชอรัล ฟรุต คือนาย วิรัตน์ ปิยะพรไพบูลย์ เป็นพี่ชายของ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เคยเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นเวลาหลายปี นายวิรัตน์ ปิยะพรไพบูลย์ ยังมีหลายธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากการเป็นเจ้าของร่วมของกลุ่ม เเนท กรุ๊ป เขามีกิจการ บ. ว่านหางจระเข้สยาม จำกัด ซึ่งเป็น บริษัท ที่ผลิตและส่งออกว่านหางจรเข้กระป๋อง
นายวิรัตน์ ปิยะพรไพบูลย์ เป็นผู้ทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรมสับปะรดของไทย เขายังเป็นประธานของสมาคมอุตสาหกรรมสับปะรดไทย (TPIA) ที่เป็นตัวแทนบริษัทประกอบกิจการสับปะรดกว่า 60 บริษัทในประเทศไทย
3. อานดี้ ฮอลล์ คือใคร? ฟินน์วอชคือใคร?
อานดี้ ฮอลล์ ถือสัญชาติอังกฤษเเละพำนักในประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ช่วง พ.ศ.2556 จนถึงช่วงที่พาสปอร์ตของฮอลล์ถูกยึดเพราะการฟ้องคดี ฮอลล์อาศัยอยู่ในประเทศเมียนมาร์เเละทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเมียนมาร์ในประเด็นการย้ายถิ่น โดยอาศัยอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง
ฮอลล์ศึกษาด้านกฎหมายและมีความเชี่ยวชาญในประเด็นการย้ายถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เเละศึกษาในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เขาทำดุษฎีนิพนธ์เรื่องข้อเสนอทางกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กรณีศึกษาจากความรับผิดชอบทางอาญาขององค์กรอุตสาหกรรมต่อการเสียชีวิตจากการทำงานในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา และ สหราชอาณาจักร
เมื่อ พ.ศ. 2555 องค์กรฟินน์วอช ว่าจ้างฮอลล์ เป็นนักวิจัยที่ปรึกษาเเละประสานงานการวิจัยภาคสนามในประเทศไทยในโครงการขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อของผลิตภัณฑ์ฉลากห้างค้าปลีกที่วางขายในกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตประเทศฟินแลนด์ อานดี้ ฮอลล์ดำเนินการสัมภาษณ์คนงานที่โรงงาน บ. เนเชอรัล ฟรุต ด้วยความช่วยเหลือจากล่ามแปลภาษาเเละผู้ประสานงานท้องถิ่น
องค์กรฟินน์วอชเป็นองค์กรเฝ้าระวังประเด็นความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรในฟินแลนด์ ที่มีรากฐานหั่งลึกในภาคประชาสังคมฟินแลนด์ โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของผลิตภัณฑ์ฉลากห้างค้าปลีกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยงานที่มีคุณค่าซึ่งได้รับทุนจากสหภาพการค้าหลายแห่งในประเทศฟินแลนด์
4. คดีทั้งสี่ที่ บ. เนเชอรัล ฟรุต ฟ้องอานดี้ ฮอลล์มีคดีใดบ้าง?
a) หมิ่นประมาททางอาญา – ให้สัมภาษณ์อัล จาซีรา
คดีแรกจากสี่คดีที่ดำเนินการถึงขั้นตอนการพิจารณาคดี คือ คดีหมิ่นประมาททางอาญาเนื่องจากฮอลล์ให้สัมภาษณ์ สำนักข่าวอัล จาซีรา ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ เมื่อเดือนเมษายน 2556 สิ่งที่ย้อนแย้งคือ คดีนี้เกี่ยวกับกการให้สัมภาษณ์เรื่องคดีที่ บ. เนเชอรัล ฟรุต ฟ้องคดีต่อ ฮออลลื สองคดี ก่อนหน้านี้ในปีเดียวกัน หลังการเผยแพร่รายงานฟินน์วอช
บ. เนเชอรัล ฟรุต อ้างว่า ฮอลล์เจตนาทำร้ายชื่อเสียงของบริษัท โดยการพูดและ / หรือเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ การพิจารณาคดีมีการสืบพยาน ตั้งแต่วันที่ 2-10 กันยายน 2557 ที่ศาลจังหวัดพระโขนงกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ศาลอ่านคำตัดสินยกฟ้อง เนื่องจากข้อบกพร่องที่เจ้าพนักงานอัยการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย
อัยการสูงสุดของไทยเเละ บ. เนเชอรัล ฟรุต อุทธรณ์เรื่องความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งศาลที่ให้ยกฟ้องไปยังศาลอุทธรณ์เมื่อเดือนมกราคม 2558 คาดว่าศาลอุทธรณ์จะอ่านคำตัดสินในวันที่ 18 กันยายน 2557
หากศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ ศาลจังหวัดพระโขนงจะต้องตัดสินคดีตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการข้อมูลที่นำเสนอในระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 โดยไม่มีการพิจารณาเพิ่มเติมและไม่มีการรับฟังข้อมูลใหม่การพิจารณาในขั้นตอนนี้ อานดี้ ฮอลล์จะถูกควบคุมตัวระหว่างรอการประกันตัว
b) หมิ่นประมาททางอาญา และ พรบ. คอมพิวเตอร์ฯ – รายงานฟินน์วอช
หลังจากการไต่สวนมูลฟ้อง 7 ครั้ง ระหว่าง 17 พฤศจิกายน 2557 ถึง 20 กรกฎาคม 2558 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งฟ้องฮอลล์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2558 ตามข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาเดิมและการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการตีพิมพ์เผยแพร่รายงานฟินน์วอช “สินค้าถูกมีราคาสูง”
อานดี้ ฮอลล์จะถูกฟ้องคดีอย่างเป็นทางการอีกคดีหนึ่ง โดยมีกำหนดในการพิจารณาวันที่ 19 ตุลาคม 2558 ฮอลล์จะเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีและยืนยันว่าเขา ‘ไม่ผิด‘ ในการนี้ฮอลล์มีโอกาสที่จะถูกควบคุมตัวไว้เขาสามารถร้องขอการปล่อยตัวชั่วคราวโดยวางหลักทรัพย์ประกันตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล คาดว่าการพิจารณาคดีนี้จะเริ่ม พ.ศ. 2559
คดีนี้มีโทษจำคุกสูงสุดจำคุก 7 ปี
ในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง บ. เนเชอรัล ฟรุต มีพยานของบริษัทที่ให้การต่อศาลเพื่อพยายามที่จะโน้มน้าวให้ศาลตัดสินดำเนินการพิจารณาคดี กลาโหมเพียง ฝ่ายจำเลยมีโอกาสซักค้านพยานของฝ่ายอัยการโจทก์ที่ ฮอลล์ไม่ได้เข้าร่วมการไต่สวนมูลฟ้อง แต่งตั้งทนายความเป็นตัวแทนเข้าซักค้าพยานโจทก์แทนตนเอง พยานโจทก์ คือ ผู้จัดการโรงงาน บ. เนเชอรัล ฟรุต เจ้าของ บ. เนเชอรัล ฟรุต แรงงานข้ามชาติ นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
c) หมิ่นประมาททางแพ่ง / เรียกค่าเสียหาย – รายงานฟินน์วอช
บ. เนเชอรัล ฟรุต เรียกร้องค่าเสียหาย 300 ล้าน บาทจาก อานดี้ ฮอลล์ เนื่องจากการตีพิมพ์เผยแพร่รายงานของฟินน์วอช
การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2557 ล้มเหลว ศาลแพ่งจังหวัดนครปฐมเลื่อนการพิจารณาคดีจนกว่าการพิจารณาคดีในข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาและอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับรายงานฟินน์วอช จะเสร็จสิ้น
d) หมิ่นประมาททางแพ่ง / เรียกค่าเสียหาย – อัล จาซีรา
นอกจากนี้ บ. เนเชอรัล ฟรุต ยังฟ้องคดีเรียกร้องค่าเสียหาย 100 ล้าน บาท อันเนื่องจากอานดี้ ฮอลล์ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว อัลจาซีรา ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ ณ ปัจจุบัน คดีนี้ยังไม่มีการส่งหมายเรียกให้จำเลย เนื่องจากต้องส่งหมายเรียกให้ฮอลล์ในประเทศเมียนมาร์
การพิจารณาคดีครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2557 ที่ศาลจังหวัดพระโขนง ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2558 ในระหว่างการพิจารณาคดีครั้งสอง โจทก์รายงานต่อศาลว่ายังไม่ได้ดำเนินการส่งหมายเรียกฮอลล์ในประเทศเมียนมาร์ได้เป็นผลสำเร็จ การพิจารณาคดีครั้งที่สามที่กำหนดไว้ คือวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เพื่อให้มีเวลาเพียงพอสำหรับการส่งหมายเรียกให้ฮอลล์ในประเทศเมียนมาร์
5. ข้อค้นพบจากกรณี บ. เนเชอรัล ฟรุต ในรายงานของฟินน์วอชเป็นเท็จหรือไม่?
รายงานสินค้าถูกมีราคาสูงที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2556 มาจากการสัมภาษณ์แรงงานงานในโรงงาน บ. เนเชอรัล ฟรุต ตามจรรยาบรรณการวิจัยของฟินน์วอช ผู้วิจัยได้ติดต่อ บ. เนเชอรัล ฟรุต หลายครั้งในระหว่างระหว่างดำเนินการตรวจสอบช้อมูลทั้งทางอีเมลโทรศัพท์และโทรสาร แต่ บริษัทฯ ปฏิเสธที่จะตอบและหารือกับฟินน์วอช เกี่ยวกับข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์ก่อนที่จะตีพิมพ์รายงาน นอกจากนี้จรรยาบรรณของฟินน์วอชยังเปิดโอกาสให้ บ. เนเชอรัล ฟรุต สามารถส่งถ้อยแถลงของตนต่อรายงานมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ ฟินน์วอชได้หลังจากรายงานตีพิมพ์แล้ว เเต่ฟินน์วอชไม่เคยได้รับการร้องขอให้ทำเช่นนั้น
ฟินน์วอชมิใช่องค์กรเดียวที่ไตรวจสอบสภาพการทำงานใน บ. เนเชอรัล ฟรุต นางสาวฮันนา นิคคาเนน นักข่าวอิสระที่ได้รับรางวัลหลายรายการได้ดำเนินการสัมภาษณ์อดีตคนงานของ บ. เนเชอรัล ฟรุต ต่างหาก โดยแยกเป็นอิสระจากงานวิจัย เเละนิตยสาร Apu ตีพิมพ์บทความของนิคคาเนนที่ประเทศฟินแลนด์ ในวันเดียวกันกับที่ฟินน์วอชตีพิมพ์รายงาน เมื่อ พ.ศ. 2556 สำนักข่าวอัลจาซีรายังได้สัมภาษณ์คนงานที่หนีออกจาก บ. เนเชอรัล ฟรุต ด้วย
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หลังจากฟินน์วอชตีพิมพ์รายงาน ประมาณสามเดือนหลังจากการวิจัยภาคสนามเสร็จสิ้น ฟินน์วอชเเจ้งผลการวิจัยไปยังหน่วยงานไทยและ บ. เนเชอรัล ฟรุต ในที่สุดเจ้าหน้าที่แรงงานไทยได้ดำเนินการตรวจโรงงาน บ. เนเชอรัล ฟรุต รายงานการตรวจสอบแรงงานที่ใช้อย่างแพร่หลายในระหว่างการพิจารณาคดีครั้งแรกของฮอลล์ในเดือนกันยายน 2557 กล่าวถึงข้อบกพร่องหลายประการในโรงงานได้แก่การหักค่าจ้างผิดกฎหมายจากเงินเดือนการทำงานล่วงเวลาเป็นระยะเวลานานเกินกว่ากฎหมายกำหนด บริการสุขาภิบาลไม่เพียงพอและมีการจำกัดการใช้ห้องสุขา แต่จนถึงวันนี้ ยังไม่มีผู้ใดดำเนินการเเละคืนความยุติธรรมให้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ บ. เนเชอรัล ฟรุต ถูกกล่าวหาละเมิดที่โรงงานของตน
เมื่อ พ.ศ. 2557 ฟินน์วอชยัง เผยแพร่รายงานการติดตามสภาพการทำงานใน บ. เนเชอรัล ฟรุต ต่อเนื่อง รายงานฉบับหลังระบุว่า ยังปรากฏปัญหาสิทธิแรงงานในโรงงาน เนื่องจากมีการพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่องฮอลล์จึงไม่ได้มีส่วนร่วมในโครงการวิจัยนี้ บ. เนเชอรัล ฟรุต มีความเห็นเกี่ยวกับรายงานต่อเนื่องสั้น ๆ ทั้งยังปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาที่ผิดกฎหมาย
6. ข้อกล่าวหาของ บ. เนเชอรัล ฟรุตจริงหรือไม่?
บ. เนเชอรัล ฟรุต กล่าวหาว่า อานดี้ ฮอลล์ จงใจให้ร้ายบริษัทฯ และการก่อให้เกิดความสูญเสียทางการเงินเนื่องจากข้อกล่าวหาที่ไม่มีหลักฐานและเป็นเท็จ
ในระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อเดือนกันยายน 2557 ฮอลล์นำหลักฐานแสดงต่อศาลเพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้ดำเนินการเพราะแรงจูงใจส่วนตัว หรือมีเจตนาคิดร้ายต่อ บ. เนเชอรัล ฟรุต ผู้วิจัยไม่เคยพบเจ้าของหรือผู้บริหารของ บ. เนเชอรัล ฟรุต ไม่เคยได้รับในการติดต่อใด ๆ หรือมีความขัดแย้งกับโรงงานมาก่อนที่จะดำเนินการศึกษาภาคสนามให้กับฟินน์วอช ฟินน์วอชได้รับชื่อและที่อยู่ของ บ. เนเชอรัล ฟรุต จากห้างค้าปลีกเอสโอเค ประเทศฟินแลนด์ เพื่อดำเนินการตรวจสอบความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการสุ่มเลือกผลิตภัณฑ์ติดฉลากห้างค้าปลีกที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศฟินแลนด์
ฮอลล์เเสดงหลักฐานต่อศาลให้เห็นว่าถ้า บ. เนเชอรัล ฟรุต ได้รับความเดือดร้อนสูญเสียทางการเงินเป็นเพราะการกระทำของบริษัทเอง อีกทั้งคำแนะนำแรกในรายงาน “สินค้าถูกมีราคาสูง” เรียกร้องให้ บริษัทที่จะดำเนินการซื้อขายกับ บ. เนเชอรัล ฟรุต ยังคงคำสั่งซื้อต่อไป เเละใช้โอกาสนี้ทำงานเพื่อผลักดันการปรับปรุงในสภาพการทำงานที่ บ. เนเชอรัล ฟรุต
ห้างค้าปลีกฟินแลนด์ เอส โอ เค เดินทางมาเยือนประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2556 และได้พบกับ บ. เนเชอรัล ฟรุต ในระหว่างการเยือน เอส โอ เค ขอให้ บ. เนเชอรัล ฟรุตตกลงให้มีการตรวจสอบ ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยบุคคลที่สาม แต่บ. เนเชอรัล ฟรุต ปฏิเสธ บริษัทโปรดาลิม (Prodalim) ประเทศอิสราเอลได้แจ้งให้ฟินน์วอชทราบว่า บริษัทได้หยุดซื้อจาก บ. เนเชอรัล ฟรุต เพราะ บ. เนเชอรัล ฟรุต ไม่ยินยอมให้ดำเนินการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม
7. ถ้าศาลตัดสินว่าอานดี้ ฮอลล์มีความผิดจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
หากศาลพิพากษาว่า อานดี้ ฮอลล์ผิดจริง เขาจะต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าปรับ เเละต้องถูกส่งตัวไปเรือนจำ บ. เนเชอรัล ฟรุต อ้างว่า ฮอลล์ก่อให้เกิดความเสียหายกว่า 7 ล้าน ยูโร ฮอลล์อาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดรวม 8 ปี
8. อานดี้ ฮอลล์จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในประเทศไทยหรือไม่?
มีหลายเหตุผลที่เป็นที่น่าสงสัยว่าอานดี้ ฮอลล์จะไม่ได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในประเทศไทย
การพิจารณาคดีข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาเนื่องจากการให้สัมภาษณ์อัลจาซีราที่มีข้อยุติทางคดีชั้นต้นแล้ว เต็มไปด้วยปัญหามากมาย ศาลตัดสินว่าให้ยกฟ้องจำเลย ด้วยเหตุว่ามีข้อบกพร่องในการดำเนินการทางคดี นอกเหนือจากนั้น ยังมีการละเมิดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ดังระบุไว้ในคำตัดสินของศาล[2] ฝ่ายจำเลยไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเตรียมความพร้อมในคดีของตน ศาลไม่ได้รับเอกสารบางส่วนที่ศาลขอจากรัฐบาลไทย เอกสารจำนวนมากไม่เคยปรากฏในบัญชีรายการพยานหลักฐาน ที่ศาลเรียก นอกจากนี้ในระหว่างการพิจารณาคดีต้องมีการหยุดพิจารณาคดีเนื่องจากการแปลภาษาและเอกสารในศาลมีเฉพาะในภาษาไทย ทำให้มีเวลาไม่เพียงพอสำหรับการแปลเอกสารเพื่อให้ฮอลล์เข้าใจถูกต้องและเพียงพอ พยานจำเลยที่เป็นอดีตคนงานข้ามชาติที่เคยทำงานโรงงาน บ. เนเชอรัล ฟรุต ได้ให้การต่อศาลอย่างเป็นทางการถึงการละเมิดที่เกิดขึ้นในศาล
สมาคมแรงงานระหว่างประเทศ IUF มอบหมายให้ ศูนย์นานาชาติเพื่อสิทธิแรงงาน (ICTUR) สังเกตการพิจารณาคดีเมื่อเดือนกันยายน จากการสังเกตการณ์การพิจารณาคดีของ ICTUR และทนายความ นายมาร์ค พลันเก็ทท์ ได้สรุปในรายงานว่า อานดี้ ฮอลล์ ได้แก้ต่างคดีของตนโดยสมบูรณ์และสมควรที่จะต้อง ได้รับการยกฟ้องด้วยเหตุหลายประการ นอกจากนี้รายงานยังพบว่ากฎหมายที่อนุญาตให้มีผู้ฟ้องร้องอานดี้ ฮอลล์ไม่เป็นธรรมตั้งแต่ต้น[3] ในกรณีนี้ศาลไทยไม่มีเขตอำนาจการพิจารณาคดีเนื่องจากการสัมภาษณ์เกิดขึ้นในต่างประเทศ
นอกจากนั้น บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาของไทยช่วยให้เกิดการลิดรอนเสรีภาพด้วยการลงโทษภายใต้ข้อหาหมิ่นประมาทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติว่าเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ผู้เชี่ยวชาญอิสระขององค์การสหประชาชาติได้แสดงความกังวลว่า คดีอาญาต่อฮอลล์ซึ่งเป็นการดำเนินคดีต่อการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการแสดงออกโดยสงบ ย่อมมีผลในการสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวให้แก่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ และเรียกร้องให้ประเทศไทยและที่อื่น ๆเปิดเผยละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเอกชนรวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจด้วย[4]
9.คดีนี้เป็นที่สนใจและการพิจารณาคดีได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางโดยองค์กรระหว่างประเทศและสมาคมสิทธิแรงงาน
ฟินน์วอชเห็นว่า การพิจารณาคดีต่ออานดี้ ฮอลล์เป็นการละเมิดนักปกป้องสิทธิมนุษยชน คดีนี้เป็นที่สนใจและการพิจารณาคดีได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางโดยองค์กรระหว่างประเทศและสมาคมสิทธิแรงงาน
องค์กรสิทธิมนุษยชนและสหภาพการค้าทั่วโลกมากกว่า 100 องค์กร ได้แสดงการสนับสนุนต่อฮอลล์ นักกิจกรรมหลายคนได้เรียกร้อง บ. เนเชอรัล ฟรุต ให้ยกเลิกการฟ้องคดีและเรียกร้องให้มีการสอบสวนสภาพการจ้างงานในบริษัทฯ [5]วอล์ค ฟรี (Walk Free) และ ซัม ออฟ อัส (Sum Of Us) ได้ดำเนินการเรียกร้องในนามฮอลล์ เเละมีผู้ลงชื่อสนับสนุนออนไลน์มากกว่า 100,000 คน
ยูไนเต็ด นอร์ดิค (United Nordic) Business and Social Compliance Initiative (BSCI) เเละ Ethical Trading Initiative (ETI) เรียกร้องให้อุตสาหกรรมอาหารไทยเเละ บ. เนเชอรัล ฟรุต จำกัด ยกเลิกการฟ้องคดีทั้งหมดต่อฮอลล์
สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ OHCHR ได้เรียกร้องครั้งเป็นครั้งที่สองให้ตรวจสอบประเด็นดังกล่าว
รัฐบาลของสหราชอาณาจักร ฟินแลนด์ เเละผู้เเทนสถานทูตต่าง ๆ ได้ส่งผู้สังเกตการณ์เพื่อสังเกตการณ์พิจารณาในศาลในคดีของฮอลล์ เเละคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ในการสนับสนุนฮอลล์ด้วย.[6]
****
ข้อมูลเพิ่มเติม
บล็อกของอานดี้ ฮอลล์
https://andyjhall.wordpress.com/
หรือติดต่อ:
อานดี้ ฮอลล์, นักวิจัย: โทร +66(0)846119209, andyjhall1979 (a) gmail.com @atomicalandy
ซอนญ่า วาร์เทียร์ลา, ผู้อำนายการบริหาร, องค์กรฟินน์วอล: +358(0)445687465, sonja.vartiala (a) finnwatch.org
[1] บทสรุปสำหรับผู้บริหารรายงาน “สินค้าถูกมีราคาสูง” ภาษาอังกฤษสามารถเข้าถึงได้ที่ http://www.finnwatch.org/images/cheap%20has%20a%20high%20price_exec%20summary_final.pdf
[2] โปรดพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมจาก International Centre for Trade Unions Rights, รายงานการสังเกตการณ์คดีอิสระ, ที่ http://www.ictur.org/pdf/Plunkett.pdf
[3] โปรดพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมจาก International Centre for Trade Unions Rights, รายงานการสังเกตการณ์คดีอิสระ, ที่ http://www.ictur.org/pdf/Plunkett.pdf
[4] โปรดพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมจาก กระบวนการพิเศษคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ที่ at http://burmacampaign.org.uk/media/public_-_AL_Thailand_26.04.13_4.2013.pdf
[5] ตัวอย่างเช่น , ฮิวแมนไรท์ วอช, 19 กรกฎาคม 2558,ประเทศไทย: ยุติคดีต่ออานดี้ ฮอลล์ นักกิจกรรมแรงงานข้ามชาติ ที่ https://www.hrw.org/news/2015/07/19/thailand-end-case-against-migrant-worker-activist; เอ็นจีโอ 44 องค์กรเรียกร้องกรณีอานดี้ ฮอลล์, 19สิงหาคม 2558 , จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องการดำเนินคดีต่อนายอานดี้ ฮอลล์, http://www.laborrights.org/publications/letter-thai-prime-minister-prayuth-chan-ocha-regarding-prosecution-andy-hall
[6] แถลงการณ์สำนักงานสหภาพยุโรปท้องถิ่น เรื่องการใช้การหมิ่นประมาททางอาญาในทางที่ผิดในประเทศไทย , 14 พฤศจิกายน 2557, ที่ http://eeas.europa.eu/delegations/thailand/documents/news/141114_eu_homs_statement_on_misuse_of_criminal_defamation_laws_en.pdf