ข่าวประชาสัมพันธ์ วันที่ 30 พฤษภาคม 2560: นายอานดี้ ฮอลล์ นักกิจกรรมด้านแรงงานข้ามชาติ การย้ายถิ่น จะยื่นฟ้องอัยการ ตำรวจและ บริษัท เนเชอรัล ฟรุตจำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 30 พฤษภาคม 2560

นายอานดี้ ฮอลล์ นักกิจกรรมด้านแรงงานข้ามชาติ การย้ายถิ่น จะยื่นฟ้องอัยการ ตำรวจและ บริษัท เนเชอรัล ฟรุตจำกัด

Click to access AH_launches_counter_prosecution_FINAL_thai_2.pdf

พรุ่งนี้เวลา 09.00น. ทนายความของนายอานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยและนักกิจกรรมชาวอังกฤษที่มีความเชี่ยวชาญด้านสิทธิแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ จะยื่นฟ้องรองอัยการสูงสุดซึ่งรักษาราชการแทนอัยการสูงสุด อัยการอื่น รวม 9 คน และเจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสหนึ่งนาย ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางเขตดุสิต กรุงเทพฯ และหลังจากนั้นทนายความของนายอานดี้จะยื่นฟ้องคดีอาญาบริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนตามกฎหมาย พนักงานระดับบริหาร และทนายความ รวมสี่คน ที่ศาลจังหวัดพระโขนง กรุงเทพฯ อีกคดีหนึ่ง
ทั้งสองคดีนี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญานายอานดี้ ข้อหาหมิ่นประมาท ในเรื่องที่ฮอลล์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว อัลจาซีรา ภาคภาษาอังกฤษ ในประเทศเมียนมาร์ บริษัท เนเชอรัล ฟรุตฯ ได้ร้องทุกข์กล่าวหาฮอลล์ ที่สถานีตำรวจบางนา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 และรองอัยการสูงสุดซึ่งรักษาราชการแทนอัยการสูงสุดในฐานะพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใช้อำนาจแทนอัยการสูงสุดในการสั่งให้มีการสอบสวนคดีต่อไปและมีความเห็นสั่งฟ้องหลังจากที่มอบให้ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางนาทำการสอบสวนแทน ต่อมา พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายอานดี้ต่อศาลจังหวัดพระโขนงเมื่อเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2557

ฮอลล์ถูกยึดหนังสือเดินทางในระหว่างที่ได้รับการประกันตัวในช่วงพิจารณาคดี ทำให้มีผลต่อ เสรีภาพในการเดินทางไปต่างประเทศ บริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัดได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ในคดี หลังจากที่มีการพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 วัน ในเดือนตุลาคม 2557 ศาลจังหวัดพระโขนงได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมด้วยเหตุผลพื้นฐานทางกฎหมายในเรื่องการสอบสวนของรองอัยการสูงสุดซึ่งรักษาราชการแทนอัยการสูงสุด เกิดฏความไม่ถูกต้องตามระเบียบที่มีการกำหนดไว้
แม้คดีจะถูกยกฟ้องในศาลชั้นต้น การคุกคามทางกฎหมายต่อฮอลล์ยังคงดำเนินต่อไป ทั้งบริษัท เนเชอรัล ฟรุตฯ เเละพนักงานอัยการโดยโจทก์ทั้งสองได้ทำการยื่นอุทธรณ์เรื่องความเห็นทาง กฎหมายของศาลชั้นต้น ต่อมา ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโดยยืนตามศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์ทั้งสองยัง คงยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาต่อไป จนในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2559 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเป็นที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง เพราะเหตุอำนาจฟ้องที่ไม่อาจดำเนินคดีในประเทศไทยได้ อันเนื่องจากลักษณะความผิดและสถานที่เกิดเหตุอยู่นอกราชอาณาจักรไทย
“ผมได้ตัดสินใจฟ้องคดีทั้งสองนี้ด้วยความรู้สึกในหัวใจที่หนักอึ้ง เพราะไม่ได้กระทำด้วยความ โกรธหรือมีความปรารถนาที่จะแก้แค้นคู่กรณี เป็นเรื่องน่าเสียดายที่สิ่งต่างๆ ได้ล่วงเลยมาจนถึง ขั้นตอนนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม การฟ้องคดีทั้งสองคดีนี้ เป็นความจำเป็นที่ผมต้องกระทำเพื่อการปกป้องตัวเองจากการดำเนินคดีที่มิชอบและการคุกคามทางกฎหมายที่ยังคงเกิดขึ้นกับผมต่อไปอย่างไม่ที่สิ้นสุด” นายอานดี้ ฮออล์กล่าวจาก บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
“ผมได้รับการสนับสนุนให้ทำการฟ้องคดีโดยแรงงานช้ามชาติซึ่งผมยังคงสนับสนุนแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผมถูกยื่นฟ้องแรงงานข้ามชาติและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและทั่วโลกจำนวนมากบอกแก่ผมว่าเขาลังเลที่จะแสดงความกังวลเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ หรือการทำรายงานเรื่องการแสวงประโยชน์อย่างเต็มที่ เนื่องจากกลัวผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ จึงมีความจำเป็นที่การดำเนินคดีทั้งสองนี้จะช่วยให้มีพื้นที่สำหรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน การแสวงประโยชน์ด้าน แรงงานและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในการพูดด้วยความมั่นใจเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายโดยนักธุรกิจและเจ้าหน้าที่รัฐโดยไม่มีผลกระทบ ได้บ้าง”
นายฮอลล์กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากนี้ ผมยังได้เริ่มต้นพิจารณาการฟ้องร้องเหล่านี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะทนายความสิทธิมนุษยชนในเรื่องการให้ความคิดเห็นทางกฎหมายอย่างมีทักษะและน่านับถือในการช่วยให้ผมสามารถพิจารณาและตัดสินใจในการดำเนินคดีด้วยตัวผมเอง โดยคณะทนายความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมของไทยเพื่อ ทำให้เกิดความมั่นคงในหลักนิติธรรม และให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อเหยื่อที่ถูกละเมิดโดยมิชอบด้วยกฎหมายจากอำนาจของเจ้าหน้าที่ในชั้นสอบสวนรัฐและอำนาจในการทำหน้าที่ของอัยการ ที่พร้อมจะร่วมมือกับผม”
นายอานดี้ฮอลล์ ยังคงต่อสู้คดีที่ถูกฟ้องอีกคดีหนึ่งซึ่งเป็นคดีอาญาฐานหมิ่นประมาททางและการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์ที่บริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัดเป็นโจทก์ฟ้อง เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดและได้รับโทษจำคุก 3 ปี ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 คำตัดสินที่ระบุว่า ฮอลล์ผิดจริง ได้รับคำวิจารณ์จากทั่วโลกทั้งจากประชาสังคม สหภาพแรงงานองค์กรธุรกิจ องค์การสหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และสหภาพยุโรป โดยบริษัท เนเชอรัล ฟรุตฯ ยังติดใจอุทธรณ์คำพิพากษา ของศาลชั้นต้นที่ให้รอการลงโทษ โดยต้องการให้นายฮอลล์ติดคุกทันที ซึ่งฮอลล์ก็ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไว้ เช่นกัน ว่ามิได้กระทำความผิด
บริษัทไทยอีกแห่งหนึ่ง คือ บริษัท ธรรมเกษตร จำกัด ก็ได้ยื่นฟ้องฮอลล์ในข้อหา อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการหมิ่นประมาทในทางอาญา เพื่อเพิ่มการคุกคามให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การคุกคามเหล่านี้บังคับให้ฮอลล์ตัดสินใจออกจากประเทศไทย หลังจากที่พำนักอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 11 ปี ฮอลล์ออกจากประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2559 เพื่อไปพักอาศัยอยู่ในยุโรป
การเปิดตัวการฟ้องคดีความผิดทางอาญาโดยฮอลล์ในวันพรุ่งนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับการเปิดตัวแผนปฏิบัติการแห่งชาติของไทยเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน โดยนายกรัฐมนตรีไทยเสนอแผนปฏิบัติการแห่งชาติของไทยเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชนให้เป็นเครื่องมือที่องค์การสหประชาชาติไปใช้แนะนำสำหรับประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ในการส่งเสริมหลักเกณฑ์ชี้แนะด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในแต่ละรัฐ
ตามหลักเกณฑ์ของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน รัฐต้องดำเนินการให้แน่ใจว่า “ศาลมีความเป็นอิสระจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจหรือการเมืองจากตัวแทนรัฐอื่น ๆ และจากผู้มี บทบาททางธุรกิจและจักไม่มีการขัดขวางการดำเนินกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายและกระทำโดยสงบสันติของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน”
ในประเทศไทย สถิติการฟ้องร้องตามพระราชบัญัติในคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากภายในสองปีที่ผ่านมา นักวิจารณ์กล่าวว่า บทบัญญัติในกฎหมายนี้ได้ถูกใช้โดย เจ้าหน้าที่และบริษัทเอกชนเพื่อปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว และอื่น ๆ องค์กรภาคประชาสังคมได้เรียกร้องให้มีการยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายอาญาของประเทศที่ลงโทษทางอาญาในเรื่องการหมิ่นประมาทและให้มีการแก้ไขกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออก
บริษัท เนเชอรัล ฟรุตฯ ได้ดำเนินการฟ้องคดีฮอลล์ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง 4 คดี เนื่องจากบทบาทของเขาในรายงานของฟินน์วอชท์เรื่อง สินค้าราคาถูกมีราคาสูงที่ เผยแพร่เมื่อพ.ศ. 2556 โดยรายงานได้กล่าวถึงคำกล่าวอ้างเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานที่น่าจะเกิดขึ้นในโรงงานผลิตน้ำสับปะรดของบริษัท เนเชอรัล ฟรุตฯ
แม้ว่าฟินน์วอชท์ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องคดีครั้งนี้ องค์กรยังคงสนับสนุนฮอลล์ให้อุทธรณ์คำ พิพากษาเมื่อเดือนกันยายน 2559 ที่พิพากษาว่าฮอลล์มีความผิดตามฟ้อง ในการดำเนินคดีต่อฮอลล์นั้น องค์กรฟินน์วอทช์ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย เเละไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ร่วมกันสนับสนุนค่าทนายความค่าปรับ และค่าประกันตัว ในการต่อสู้คดีและในระหว่างการพิจารณาคดี องค์กรฟินน์วอทว์ เเละกลุ่มธุรกิจ เอส กรุ๊ปสมาคมอาหารทะเลไทย เเละบริษัทต่าง ๆ ขึ้นเป็นพยานในคดีเพื่อสนับสนุนฮอลล์
นางซอนญา วาร์เทียร์ลา ผู้อำนวยการองค์กรฟินน์วอชท์กล่าวว่า “อานดี้สนับสนุนสิทธิแรงงาน ข้ามชาติในประเทศไทยอย่างไม่ลดละมากว่าทศวรรษ ทั้งยังทุ่มเทชีวิตให้งานนี้ การคุกคามทางกฎหมายอย่างไม่หยุดยั้งต่ออานดี้ ซึ่งดำเนินมาเข้าปีที่ 5 เป็นภาระหนักอึ้งและควรยุติลงได้แล้ว”
เธอกล่าวเพิ่มเติมว่า “เป็นหน้าที่ของธุรกิจเเละรัฐบาลที่จะหยุดยั้งการคุกคามทางกฎหมายต่อนัก ปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ทำงานเรื่องธุรกิจเเละสิทธิมนุษยชน” และเตือนว่า “การทำงานของนักวิจัยเช่นอานดี้ ฮอลล์ เกี่ยวกับสภาพการทำงานในระบบห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ย่อมยังให้เกิดประโยชน์สำหรับบริษัทต่างๆ ที่ซื้อขายในประเทศไทย”
************

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ของอานดี้ ฮอลล์และการฟ้องคดีโปรดดูที่เอกสารถาม และตอบของเราเมื่อวันที่30TH พฤษภาคม 2560 (เฉพาะภาษาอังกฤษ) ที่

Click to access NaturalFruitvsAndyHallQA_May2017_Final.pdf

สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้กรุณาติดต่อ:

อานดี้ ฮอลล์

ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ

+44 (0) 7445 241376

andyjhall1979@gmail.com
นายนคร ชมพูชาติ

ห้วหน้าคณะทนายความของอานดี้ ฮอลล์

+66 (0) 818 473086

nakhonct@gmail.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s