‪UN Press Release 17th May 2018 – Thailand: UN experts condemn use of defamation laws to silence human rights defender Andy Hall‬

UN Press Release 17th May 2018 – Thailand: UN experts condemn use of defamation laws to silence human rights defender Andy Hall https://www.protecting-defenders.org/en/news/thailand-un-experts-condemn-use-defamation-laws-silence-human-rights-defender-andy-hall

 

 

Thai version below

 

Thailand: UN experts condemn use of defamation laws to silence human rights defender Andy Hall

 

GENEVA (17 May 2018) – A group of UN human rights experts* has criticised the use of defamation legislation in Thailand to silence human rights defender Andy Hall and others who report business-related human rights abuses.

Since September 2016, Mr. Hall has faced multiple civil and criminal cases for exposing alleged human rights abuses related to the working conditions of migrant workers in several Thai companies.

The UN experts say the case against him is emblematic of the growing number of strategic lawsuits against public participation (SLAPP) in Thailand, filed by business enterprises seeking to silence legitimate concerns about working conditions in certain industries.

“Worryingly, we are seeing the use of defamation cases as a tool to undermine the legitimate rights and freedoms of communities and rights holders, who are often from some of the most vulnerable groups in society. Criminal defamation charges against human rights defenders serve only to criminalise their legitimate human rights work and may violate their right to freedom of expression,” the experts said.

“The UN Human Rights Committee has made clear that States should consider decriminalising defamation and that, even in the most serious cases, imprisonment is never an appropriate penalty. It is, therefore, critical for the Thai Government to revise its civil and criminal laws as well as prosecution processes to prevent misuse of defamation legislation by companies,” they added.

The Working Group on human rights and transnational corporations and other business enterprises conducted an official visit to Thailand between 26 March and 4 April 2018. “During this mission the Working Group raised concerns over defamation cases with the Thai Government and emphasised the need to ensure that relevant authorities engaged with human rights defenders constructively to prevent, mitigate and remedy adverse human rights impacts,” the experts noted.

Mr. Hall was convicted in September 2016 on charges of criminal defamation and offences under the Computer Crime Act, for his work as the primary researcher for a report published by a Finnish NGO, Finnwatch, entitled “Cheap has a high price”, which documented serious allegations of rights violations, including the trafficking of migrant workers, by a Thai food company. He was sentenced to four years in prison and ordered to pay a fine of 200,000 baht (5,200 euros). The sentence was later reduced by one year, with two years suspended, and the fine reduced to 150,000 baht.

On 26 March 2018, a Bangkok court ordered Mr. Hall to pay 10 million baht (approximately 320,000 USD) in damages to Natural Fruit Co. in a connected civil lawsuit, along with legal and court fees.

Previously, following new defamation accusations against him by Thammakaset Company Ltd, in November 2016, and pending an appeal against his conviction in the Natural Fruit case, Mr. Hall left Thailand, citing unbearable judicial harassment.

The new accusations relate to Mr. Hall’s work assisting 14 migrant workers who had reported exploitative working conditions at the Thammakaset chicken farm. An appeal by the migrant workers to the Supreme Court is pending; however the company has filed criminal charges against the 14 workers for defamation and providing false information to public officials.

“Was We express serious concern over the possible adverse effect that such use of defamation laws can have on human rights defenders who seek to expose and document human rights violations in Thailand and abroad,” the experts said.

“Business enterprises have a responsibility to avoid causing or contributing to adverse human rights impacts; therefore it is a worrying trend to see businesses file cases against human rights defenders for engaging in legitimate activities,” the experts said.

“The cases filed against Mr. Hall and against workers who complain about abusive working conditions may embolden other companies to file similar civil and criminal defamation cases against human rights defenders and workers, adversely affecting their legitimate and critical work standing up for human rights,” they concluded.

ENDS

*The experts: Mr. Michel Forst, Special Rapporteur on the situation of human rights defenders;   Mr. Clément Nyaletsossi Voulé,Special Rapporteur on the rights to freedom of peaceful assembly and of associationMr. Felipe González Morales, Special Rapporteur on the human rights of migrantsMs. Urmila Bhoola, Special Rapporteur on contemporary forms of slavery, including its causes and consequences;Ms. Maria Grazia Giammarinaro, Special Rapporteur on trafficking in persons, especially women and childrenMs. Anita Ramasastry, Chair of UN Working Group on human rights and transnational corporations and other business enterprises.

 

The Special Rapporteurs and Working Groups are part of what is known as the Special Procedures of the Human Rights Council. Special Procedures, the largest body of independent experts in the UN Human Rights system, is the general name of the Council’s independent fact-finding and monitoring mechanisms that address either specific country situations or thematic issues in all parts of the world. Special Procedures experts work on a voluntary basis; they are not UN staff and do not receive a salary for their work. They are independent from any government or organization and serve in their individual capacity.

 

UN Human Rights, Country Page – Thailand

 

For more information and press inquiries, please contact: defenders@ohchr.org

 

For media inquiries related to other UN independent experts please contact
Jeremy Laurence, UN Human Rights – Media Unit (+41 22 917 9383 / jlaurence@ohchr.org)

 

This year is the 70th anniversary of the Universal Declaration of Human Rights, adopted by the UN on 10 December 1948. The Universal Declaration – translated into a world record 500 languages – is rooted in the principle that “all human beings are born free and equal in dignity and rights.” It remains relevant to everyone, every day. In honour of the 70th anniversary of this extraordinarily influential document, and to prevent its vital principles from being eroded, we are urging people everywhere to Stand Up for Human Rightswww.standup4humanrights.org

 

 

***

 

ประเทศไทย:  คณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติประนามการใช้กฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนนายอานดี้ ฮอลล์

 

เจนีวา (17 พฤษภาคม 2561) – คณะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN)* วิจารณ์การใช้บทบัญญัติทางกฎหมายในประเทศไทยว่าด้วยการหมิ่นประมาทเพื่อปิดปาก อานดี้ฮอลล์ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และนักปกป้องฯ คนอื่นๆ ที่รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ

ตั้งแต่ เดือนกันยายน 2559 นายฮอลล์ ต้องเผชิญกับคดีแพ่งและอาญาหลายคดีจากการเปิดเผยข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานของแรงงานข้ามชาติในบริษัทไทยหลายบริษัท

คณะผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ กล่าวว่าการดำเนินคดีเขาถือเป็นคดีสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงการฟ้องคดีเพื่อสกัดการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (strategic lawsuits against public participation- SLAPP) อันกำลังเพิ่มจำนวนสูงขึ้นในประเทศไทย คดีเหล่านี้ดำเนินการฟ้องร้องโดยบริษัทธุรกิจหลายแห่งเพื่อกลบเสียงความกังวลใจอันชอบธรรมเกี่ยวกับสภาพการทำงานในบางอุตสาหกรรม

“เป็นเรื่องน่ากังวลยิ่งที่เราเห็นการใช้คดีหมิ่นประมาทเป็นเครื่องมือในการลดทอนความชอบธรรมของสิทธิและเสรีภาพของชุมชนและผู้ครอบครองสิทธิ ซึ่งบ่อยครั้งเป็นผู้ที่มาจากกลุ่มเปราะบางที่สุดของสังคม ข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกใช้เพื่อตอบสนองต่อการทำให้การทำงานอันชอบธรรมด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอาชญากรรมเท่านั้นและอาจเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดความเชื่อของพวกเขา” คณะผู้เชี่ยวชาญกล่าว

“คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุชัดว่า รัฐทั้งหลายพึงพิจารณาว่าทั้งการลงโทษคดีหมิ่นประมาทหรือแม้กระทั่งในคดีร้ายแรงที่สุด การจำคุกเป็นอัตราโทษที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรัฐบาลไทยในการปรับปรุงกฎหมายแพ่งและอาญารวมทั้งวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญาเพื่อป้องกันการใช้บทบัญญัติว่าด้วยการหมิ่นประมาทในทางที่ผิดโดยบริษัทเอกชน” คณะผู้เชี่ยวชาญกล่าวเสริม

คณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและบรรษัทข้ามชาติและกิจการธุรกิจอื่นๆ เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 26 มีนาคม ถึง 4เมษายน 2561 “ในระหว่างการปฏิบัติภาระกิจครั้งนี้ ทางคณะทำงานฯ ได้หยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาทเสนอต่อรัฐบาลไทยและได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรับรองว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องประสานความร่วมมือกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในการป้องกัน ลดทอนและเยียวยาผลกระทบทางลบต่อสิทธิมนุษยชน” คณะผู้เชี่ยวชาญกล่าว

นายฮอลล์ถูกดำเนินคดีเมื่อเดือนกันยายน2559 ในข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาและฐานความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อันเนื่องมาจากการทำงานของเขาในตำแหน่งนักวิจัยชั้นต้นของรายงานชื่อ “Cheap has a high price”ที่ตีพิมพ์โดย ฟินน์วอท์ช ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไรจากประเทศฟินแลนด์ ทั้งนี้รายงานฉบับดังกล่าวบันทึกข้อกล่าวหาร้ายแรงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนประกอบด้วย การค้ามนุษย์แรงงานข้ามชาติโดยบริษัทผลิตอาหารแห่งหนึ่งของไทย คดีดังกล่าว เขาถูดตัดสินจำคุก 4 ปี รวมทั้งถูกสั่งปรับเป็นเงิน 200,000 บาท (5,200 ยูโร) ต่อมามีการลดโทษลงเหลือโทษจำคุก 1 ปี แต่ให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี และปรับ 150,000 บาท

วันที่ 26 มีนาคม 2561 ศาลฎีกา สั่งให้นายฮอลล์จ่ายค่าเสียหายจำนวน 10 ล้านบาท(ราว 320,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ให้แก่บริษัท เนเชอรัล ฟรุ๊ต จำกัด ในคดีหมิ่นประมาททางแพ่ง รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางคดีและค่าธรรมเนียมศาลด้วย

ก่อนหน้านี้ เขาเพิ่งถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นประมาทอีกคดีใหม่โดยบริษัทธรรมเกษตรจำกัด โดยทั้งที่คดีกับบริษัทเนเชอรัล ฟรุ๊ต ยังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์  นายฮอลล์เดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 โดยอ้างว่าเขาไม่สามารถทนทานการคุกคามโดยใช้กระบวนการทางศาลได้

ข้อกล่าวหาใหม่ของนายฮอลล์เกี่ยวข้องกับการทำงานช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ 14 รายที่รายงานเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์แรงงานจากสภาพการทำงานที่ฟาร์มเลี้ยงไก่ธรรมเกษตร แรงงานข้ามชาติยื่นคำร้องอุทธรณ์ขอความเป็นธรรมในในคดีดังกล่าวซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา บริษัทกลับดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาททางอาญากับแรงงานข้ามชาติทั้ง 14 ราย รวมทั้งข้อหาให้การอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานด้วย

“เราขอแสดงความกังวลอย่างจริงจังกับผลกระทบจากการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทที่เป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้ซึ่งพยายามเปิดเผยและบันทึกการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและในต่างประเทศ” คณะผู้เชี่ยวชาญกล่าว

“ธุรกิจวิสาหกิจ มีหน้าที่หลีกเลี่ยงการเป็นตัวการ หรือ มีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายในมิติด้านสิทธิมนุษยชน ดังนั้นจึงเป็นแนวโน้มที่น่ากังวลอย่างยิ่งที่ยังพบเห็นบริษัทธุรกิจแจ้งความดำเนินคดีกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากการประสานงานในกิจกรรมที่มีความชอบธรรม” คณะผู้เชี่ยวชาญกล่าว

“คดีต่างๆ ที่ดำเนินอยู่กับนายฮอลล์ และกับแรงงานผู้ซึ่งยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดจากสภาพการทำงานอาจยิ่งส่งเสริมให้บริษัทอื่นๆ กล้าฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาททางแพ่งและอาญาคล้ายๆ กันนี้กับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและแรงงาน ซึ่งจะสร้างผลกระทบและความเสียหายต่อการทำงานอันสำคัญและมีความชอบธรรมในการยืนหยัดเพื่อสิทธิมนุษยชน” คณะผู้เชี่ยวชาญกล่าวสรุป

จบ

*คณะผู้เชี่ยวชาญ: Mr. Michel Forst, ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน; Mr. Clement Nyaletsossi Voule, ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติและการสมาคม; Mr. Felipe Gonzalez Morales, ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ; Mr. Urmila Bhoola, ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยรูปแบบร่วมสมัยของการใช้แรงงานทาส รวมทั้งสาเหตุและผลต่อเนื่อง; Ms. Maria Grazia Giammarinaro, ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก; Mr. Dante Pesce, รองประธานคณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและบรรษัทข้ามชาติและกิจการธุรกิจอื่นๆ

ผู้รายงานพิเศษและคณะทำงาน เป็นส่วนหนึ่งของ กลไกพิเศษ ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนกลไกพิเศษนี้ เป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่สุดที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระในระบบสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นชื่อเรียกโดยทั่วไปของกลไกของคณะมนตรีฯ ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและการติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนซึ่งทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ในประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ หรือทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ตามกลุ่มประเด็นจากสถานการณ์ทุกส่วนของโลก คณะผู้เชี่ยวชาญของกลไกพิเศษเหล่านี้ทำงานบนพื้นฐานอาสาสมัครกล่าวคือ พวกเขามิใช่เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และมิได้รับเงินเดือนจากการทำงาน พวกเขาเป็นอิสระจากรัฐใดๆ หรือองค์กรใดที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในฐานะปัจเจก (ส่วนตัว)

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ หน้าประเทศ –

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และคำถามโปรดติดต่อ: defenders@ohchr.org

สำหรับ สื่อมวลชน หากมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญพิเศษของสหประชาชาติด้านอื่นๆ โปรดติดต่อ

Jeremy Laurence, UN Human Rights – Media Unit (+41 22 917 9383/jlaurence@ohchr.org)

 

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 70 ปี ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับการรับรองโดยสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปี 2491ปฏิญญาสากลฯ – แปลไว้กว่า 500 ภาษา –คือรากฐานของหลักการที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเกิดมาเสรี และเท่าเทียมกันในด้านศักดิ์ศรีและสิทธิ” ซึ่งยังคงใช้ได้กับทุกคนและทุกๆวัน ในปีแห่งความภาคภูมิแห่งวาระครบ 70 ปีของเอกสารทรงอิทธิพลอย่างพิเศษฉบับนี้และเพื่อเป็นการป้องกันการละเลยหลักการสำคัญของมัน เราขอเรียกร้องให้ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใด ยืนหยัดเพื่อสิทธิมนุษยชน:www.standup4humanrights.org

Andy Hall

Migrant Worker Rights Specialist

+977 (0) 9823486634

@atomicalandy (Twitter)

Andyjhall1979@gmail.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s